"กะทิ" สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายทั้งคาวและหวานเลยทีเดียว
แถมยังมีประโยชน์มากมาย แต่ส่วนหนึ่งเข้าใจผิดว่า "กะทิ" เป็นตัวการก่อโรคต่างๆ แต่ได้รับการพิสูจน์
และยืนยันจากนักโภชนาการแล้วว่า "กะทิ" มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
สารอาหารในกะทิมีหลายชนิด ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และอิเล็กโทรไลท์ รวมทั้งโพแทสเซียม แคลเซียม
และคลอไรด์ไขมันอิ่มตัวไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าว ถูกสร้างขึ้นจากกรดไขมันห่วงโซ่สั้น และห่วงโซ่กลาง
ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นพลังงานแทนการจัดเก็บเป็นไขมัน ฉะนั้นแม้ว่าไขมันอิ่มตัวจะสูง แต่มะพร้าวสามารถช่วย
ในการลดน้ำหนักได้เพราะกรดไขมันที่มีขนาดปานกลาง ซึ่งถูกย่อยได้ง่ายและเคลื่อนย้ายได้สะดวก
เมื่อบริโภคเข้าไปจะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้แล้วเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับ
โดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่
ดังนั้น ผู้บริโภคกะทิจึงแข็งแรงเพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไปอีกทั้งยังไปกระตุ้นให้ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ดี
ขึ้น ก่อให้เกิดความร้อนจากผลของอุณหภูมิ ซึ่งจะช่วยในการเผาผลาญอาหารที่บริโภคเข้าไป พร้อมกันให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน
แทนที่ จะไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย จึงเป็นที่มาว่าทำไมกะทิถึงช่วยเรื่องลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้ ห่วงโซ่กรด ไขมันกลางใน
กะทิ ประกอบด้วยกรดลอริค ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านไวรัส ป้องกันแบคทีเรีย ป้องกันจุลินทรีย์ และต้านเชื้อรา
กะทิสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้แพ้แลคโตสหรือแพ้นมจากสัตว์อีกด้วย เพราะกะทิสามารถใช้ประกอบอาหารคาว
หวาน ได้หลากหลายเมนู แต่การรับประทานที่มากเกินพอดี ก็จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกันส่วนมาก
ในอาหารประเภทของหวาน ที่มีกะทิผสมจะประกอบด้วยน้ำตาลจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการบริโภคที่มากเกินพอดี
ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
ฉะนั้นควรรับบริโภคแต่พอเหมาะเพื่อสุขภาพที่ดี
ขอขอบคุณ : Spring News และ Sanook.com ผู้สนับสนุนเนื้อหา
Text